วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

งานอาชีพ


การจัดกระบวนการอาชีพ
              ทุกคนต้องประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ เพราะเงินหรือรายได้จากการประกอบอาชีพจะถูกนำมาใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียน รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลต่างๆ
              การที่จะประกอบอาชีพได้นั้น  จำเป็นต้องมรีประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพที่จะทำ  เพื่อให้ได้เรียนรู้ ได้เห็น ได้ฝึกปฎิบัติกิจกรรมในอาชีที่ตนเองถนัดและสนใจ และเข้าสู่การประกอบอาชีพอย่างมั่นใจ
              ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์อาชีพที่ควรศึกษาและเรียนรู้ได้แก่  สถาณการณ์แรงงาน  ประกาศรับสมัครงาน  ความรู้ความสามารถของตนเอง  และผลตอบแทน
        ประกาศรับสมัครงาน
             ในปัจจุบันไม่ใช่แต่คนทั่วไปเท่านั้นที่มองหางานผู้ประกอบการหรือนายจ้างเองก็มองหาคนงานเช่นเดียวกัน ซึ่งมักจะประกาศรับสมัคงานในรูปแบบต่างๆดังนี้
1.หนังสอพิมพ์
2.วิทยุ
3.โทรทัศน์
4.อินเตอร์เน็ต
     ความรู้หรือความสามารถของตนเอง
ในประกาศรับสมัคงานโดยทั่วไปจะบอกคุณสมบัติของผู้สมัครซึ่งผู้ที่ต้องกรสมัครงานควรสำรวจความรู้ความสามารถของตนเองว่ามีคุณสมบัติตามประการหรือไม่ถ้าไม่มีคุณสมบัติข้อใดก็ควรปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติดังกล่าว เช่น ประกาศรับสมัครงานคนส่งอีเมล์และคีร์ข้อมูล ผู้สมัครต้องมีความรู้ความสามารถในการพิมพ์ข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ และใช้งานอีเมลเป็นอย่างดี หากไม่มีความรู้ความสามารถเหล่านี้ ต้องฝึกฝนให้ชำนาญก่อนจะไปสมัครงานตำเหน่งนี้ เป็นต้น
  ผลตอบแทน
ผลตอบแทนจากการประกอบอาชีพ หมายถึง สิ่งที่ได้รับจากการประกอบอาชีพ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นสองส่วน ดังนี้
1.รายได้หรือค่าตอบแทน
2.สวัสดิการ
  การเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ
        การเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการหางานและพัฒนาตนให้มีคุณสมบัติที่จำเป็น เพื่อให้สมัครงานได้ตรงความสนใจและความถนัดของตนเอง
 การหางาน
     การหางานให้ได้ตามความต้องการ เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของตนเองมีแนวทาง ดังนี้
1.สำรวจตัวเอง
2.สำรวจตลาดแรงงาน
3.หางานจากเหล่งงานต่างๆอย่างมืออาชีพ

คุณสมบัติที่จำเป็น
1.จบการศึกษาตามที่ระบุไว้ในใบประกาศรับสมัครงาน หรือสอดคล้องกับอาชีพที่สนใจ
2.มีมนุษยสัมพันธ์ดี
3.มีความเป็นผู้นำ
4.มีความรับผิดชอบ
5.มีความขยัน
6.มีความซื่อสัตย์
7.มีความอดทน
8.มีสุขภาพแข็งแรง
9.ทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี
10.มีความสามารถทางภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
11.มีความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์


ทักษะกระบวนการทำงาน
1.การวิเคราะห์งาน
2.การวางแผนในการทำงาน
3.การลงมือทำงาน
4.การประเมินผลการทำงาน


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) [1] หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน

ข้อดีและข้อเสียของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อดี
ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
การเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น
ผู้ขายสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ทุกวัน

ข้อเสีย
ผู้ซื้ออาจไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อแล้วจะได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ




 ที่มา http://th.wikipedia.org 

ความหมายของการติดต่อสื่อสาร


ความหมายของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นกระบวนการรับและการถ่ายทอดข้อมูลอันได้แก่ ข้อเท็จจริง ความคิด ความรู้สึกทัศนคติ หรือเนื้อหาสาระต่างๆ ที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกันจากบุคคลไปสู่บุคคล หรือจากบุคคลไปสู่กลุ่ม หรือจากกลุ่มไปสู่กลุ่ม เพื่อสร้างความเข้าใจ การชักจูงใจหรือมุ่งให้ความรู้หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ประสงค์
จุดมุ่งหมายของการติดต่อสื่อสารการติดต่อสื่อสารกันในแต่ละระดับ ย่อมมีจุดหมายที่แตกต่างกันไป โดยภาพรวมแล้ว การติดต่อสื่อสารมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
1.เพื่อรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ สำหรับผู้ที่ติดต่อเกี่ยวข้องกันโดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
2.เพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ แก่ผู้เกี่ยวข้องกัน และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
3.เพื่อรับ ส่ง ความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน
     องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารองค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. ผู้ส่ง
2. ผู้รับ
3. ข่าวสาร/ข้อมูล
4. วิธีการติดต่อสื่อสาร
การสื่อสาร มี 2 ลักษณะ คือ วัจนสาร หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยวาจา และการติดต่อสื่อสารโดยไม่ใช้วาจา ที่เรียกว่าอวัจนสาร     องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร  
ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการส่งข่าวสาร/ข้อมูลให้ผู้รับสารโดยมีวัตถุประสงค์ วิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ และลักษณะของผู้รับสารที่มีความแตกต่างกันในด้านภาษา วัฒนธรรม ความรู้สึก ทัศนคติ ความเชื่อ และระดับความรู้ ซึ่งผู้ส่งสาร พึงตระหนักถึงการเลือกโอกาสและวิธีการที่เหมาะสมที่เอื้อให้ผู้รับสารเข้าใจและตอบสนองได้ง่าย
2.ข่าวสาร/ข้อมูล ส่วนประกอบของข่าวสาร ข้อมูล มิใช่เป็นเพียงถ้อยคำ หรือภาษาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง โอกาสช่วงเวลา อารมณ์ ความรู้สึก โดยเฉพาะระดับเสียง มักเป็นตัวบอกภาวะทางอารมณ์ของผู้ติดต่อว่าเป็นความพอใจ โกรธไม่พอใจ หรือเศร้าใจ เป็นต้น นอกจากนั้นการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางยังเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดภายในของบุคคลที่สำคัญ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น การจัดทำข่าวสาร/ข้อมูล พึงพิจารณาถึงความชัดเจนที่จะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจและตอบสนองได้ง่าย
3.วิธีการติดต่อสื่อสาร วิธีการติดต่อสื่อสารจัดเป็นเครื่องมือที่จะนำข่าวสาร/ข้อมูลไปยังผู้รับสาร มีทั้งวิธีการติดต่อที่ไม่ใช้วาจา (Non-Vernal communication) หรืออวัจนสาร และวิธีการติดต่อที่ใช้วาจา (Verbal communication) หรือวัจนภาษา ผู้ส่งสารที่ดี พึงเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมต่อเหตุการณ์ และสอดคล้องกับลักษณะและธรรมชาติของผู้รับสาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ คือ มีความเข้าใจตรงกัน
4.ผู้รับสาร อาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่รับข้อมูล/ข่าวสาร และตอบสนองตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร ฉะนั้นจึงพึงระมัดระวังการแปลความหมายว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง (fact) ส่วนใดเป็นความรู้สึก (feeling) ส่วนใดเป็นความคิดเห็น (thinking or opinion) และสามารถส่งข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งข่าวสารได้ ซึ่งอาจจะบอกกล่าวถึงการรับข่าวสาร/ข้อมูล ตรวจสอบความเข้าใจ หรือแสดงความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ย่อมเพิ่มคุณภาพของการติดต่อสื่อสารให้มากยิ่งขึ้น
รูปแบบการติดต่อสื่อสารรูปแบบโดยทั่วไปในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล มี2แบบ ได้แก่
แบบที่ 1 การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication) หมายถึง การที่ผู้ส่งสารได้แจ้ง หรือเสนอข้อมูลให้ผู้รับทราบ เพ่อแนะนำ บอกกล่าว หรือสั่งให้ปฏิบัติการ ซึ่งฝ่ายรับจะไม่มีโอกาสได้สอบถาม หรือปรึกษาหารือกับผู้ส่งสารเลย
แบบที่ 2 การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) เป็นการติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกัน โดยมีการโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสพบปะ ชี้แจง ทำการตกลง ทบทวนความเข้าใจ
แนวทางในการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสม การที่บุคคลใช้ติดต่อสื่อสารกัน มีมากมายหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เวลาและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในการติดต่อกัน ผู้ที่ต้องการติดต่อสัมพันธ์กันพึงพิจารณาและเลือกวิธีการที่เหมาะสมได้ ดังนี้
 1.ติดต่อกันทางความคิดและความรู้สึก บุคคลทั่วไปต้องการถ่ายทอดทางความคิดถึงกันเสมอ การถ่ายทอดกันทางความคิด สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพ แรงจูงใจ และความต้องการ ประการที่สอง ความคิดที่ชัดเจนมีผลต่อการถอดรหัสของความคิดที่ส่งมาอย่างถูกต้อง
2.ติดต่อกันทางพฤติกรรมหรือการกระทำ มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคำพูด ภาษากายและการแสดงออกทางท่าทาง เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ที่ทำให้เข้าใจมากขึ้น
3. ติดต่อกันทางการสังเกต การสังเกต เป็นส่วนของการรับรู้ ผู้ที่มีประสบการณ์มักจะสามารถรับรู้สาระการสื่อสารให้ครบถ้วน ผู้ที่ขาดประสบการณ์มักจะโน้มเอียง ที่จะแปลผลตามที่ตนรับรู้
4. ติดต่อกันทางการพูดสนทนา ความหมายของคำหรือเนื้อหาสาระ มีความสำคัญต่อการติดต่อทางการพูด ดังนั้นจึงควรพูดหลังคิด คิดเสียก่อนที่จะพูด สื่อสาร ไปยังผู้อื่น
5. ติดต่อกันด้วยการฟัง ผู้ฟังที่ดี ควรให้ความใส่ใจ สนใจผู้พูด และ ตั้งใจฟัง โดยพยายามเข้าใจข้อมูลต่างๆที่ผู้พูดสื่อสารได้ ไม่ว่าจะเป็นวัจนสาร หรืออวัจนสาร
แนวการประเมินประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารเป็นลักษณะที่เป็นการติดต่อสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการดังนี้ 1.มีความชัดเจน การทำให้เกิดความชัดเจน หมายถึง การ ระมัดระวัง ในการเลือกภาษา หรือถ้อยคำ หรือข้อความที่จำ เป็น และช่วยในการแปลความ ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ระบุผู้ที่เกี่ยวข้อง เวลา สถานที่ เหตุผล เป็นต้น
2..มีความสมบูรณ์ การติดต่อสื่อสารที่มีความสมบูรณ์ เป็นความพยายามทำให้การถ่ายทอดครบถ้วนตามที่ต้องการ ให้ผู้รับเข้าใจ ได้แก่ การระบุวัตถุประสงค์ วิธีการและสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา •3..มีความกะทัดรัด (Conciseness) เป็นการจัดทำข่าวสารที่มีความจำเป็น จะให้เห็นประเด็นสำคัญชัดเจน ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจสับสน
4. เป็นรูปธรรม (Concreteness) เป็นการติดต่อสื่อสารที่แสดงให้เห็นเป็นจริงได้มิใช่อยู่ในจิตนาการ หรือเป็นเพียงความคาดหวังเท่านั้น กล่าวคือ ควรสื่อสารกันบนพื้นฐานของความเป็นจริง ง่ายต่อการเข้าใจ •5.มีความถูกต้อง (Correctness) เป็นการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสารที่เป็นจริงไม่บิดเบือน หรือขาดตกสูญหาย




เทคโนโลยีสะอาด 4R



ความหมายของเทคโนโลยีสะอาด
เทคโนโลยีสะอาด เป็นกระบวนการหรือวิธีการที่นำมาใช้พัฒนา เปลี่ยนแปลงปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ วิธีการ กระบวนการ หรือการบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสี่ยงต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยใช้เครื่องมือ เช่น 4 R (Reuse, Repair, Reduce, Recycle) เป็นต้น
4R 
4R เป็นแนวทางหนึ่งที่มีส่วนช่วยมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้ 4R ประกอบด้วย

Reuse การใช้ใหม่ หรือใช้ซ้ำ หมายถึง การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่หลายครั้ง ๆ เช่น เสื้อที่คับและใส่ไม่ได้แล้วนำไปให้น้องใส่ได้ ใช้ถุงกระดาษซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เป็นต้น

Repair การซ่อมแซมใช้ใหม่ หมายถึง การนำวัสดุที่เสียหายมาซ่อมใช้ใหม่ เช่น เสื้อ โต๊ะ เครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น

Reduce การลดการใช้ หมายถึง การลดการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์และทรัพยากร เพื่อให้เกิดของเสียน้อย
ที่สุด เช่น การนำถุงผ้าหรือตะกร้า มาใช้ใส่ของแทนถุงพลาสติก เป็นต้น

Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำสิ่งของที่ใช้แล้ว เช่น พลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ เศษอาหาร กลับมาผ่านกระบวนการผลิตหรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
ที่มา http://thanyawee22.wordpress.com

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการเทคโนโลยี 7 ขั้นตอน


 กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process) คือ  ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนทางเทคโนโลยีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่
1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identification the problem,need or preference)
     เมื่อมนุษย์เกิดปัญหาหรือความต้องการ ขั้นแรกคือ การทำความเข้าใจปัญหานั้น ๆ อย่างละเอียด หรือกำหนดขอบเขตการแก้ปัญหา ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร โดยเขียนเป็นข้อความสั้น ๆให้ได้ใจความชัดเจน

2.รวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ (Information
     เมื่อกำหนดปัญหาหรือความต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ เก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ทุกด้านที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ ทำได้หลายวิธี เช่น 
      • รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสารต่างๆ
      • สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด
      • สัมภาษณ์พูดคุยกับคนอื่น
      • ระดมสมองหาความคิด
      • สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต และจากแผ่นซีดีเสริมความรู้ ฯลฯ 
     ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การได้วิธีการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการในหลายแบบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ซึ่งจะเป็นช่องทางที่สามารถใส่เนื้อหาที่เราต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ และถือว่าเป็นช่องทางของการบูรณาการได้ดีที่สุด  

3.เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ (Selection of the best possible solution)
    ในขั้นนี้ เป็นการตัดสินใจเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหา โดยนำข้อมูล และความรู้ที่รวบรวมได้มาประกอบกันจนได้ข้อสรุปว่า จะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความต้องการเป็นแบบใด โดยวิธีการที่เลือกอาจยึดแนวที่ว่า เมื่อเลือกแล้วจะทำให้สิ่งนั้นดีขึ้น (Better) สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น(Faster speed) ประหยัดขึ้น (Cheaper) รวมทั้งวิธีการเหล่านี้ จะต้องสอดคล้องกับทรัพยากร (Resource) ที่มีอยู่

4.ออกแบบและปฏิบัติ (Design and making)
    ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนรู้จักคิดออกแบบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้ และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไป อาจเป็นแค่ลำดับความคิด หรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฏิบัติการลงไปด้วย นั่นคือเมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้

5.ทดสอบ (Testing to see if it works)
    เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการนั้นทดลองใช้เพื่อทดสอบว่าใช้งานหรือทำงานได้ หรือไม่มีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้ายังไม่ได้ก็ไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ ปรับปรุง แก้ไข

6.การปรับปรุง (Modification and improvement)
    หลังจากการทดสอบผลแล้วพบว่า สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น หรือวิธีการที่คิดขึ้นไม่ทำงานมีข้อบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข โดยอาจเลือกวิธีการใหม่ก็ได้คือย้อนไปขั้นตอนที่ 3

7.ประเมินผล (Assessment)
    หลังจากปรับปรุงแก้ไขจนใช้งานได้ดีตามวิธีการที่ออกแบบแล้ว ก็นำมาประเมินผลโดยรวมโดยพิจารณาดังนี้
     • สิ่งประดิษฐ์สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้ได้หรือไม่
     • สวยงาม ดึงดูดใจผู้ใช้หรือไม่
     • แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหรือไม่
     • ต้นทูนสูงเกินไปหรือไม่
    บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว นักเรียนรู้จักที่จะทำงานเป็นขั้นตอน เป็นระบบ ย้อนกลับมาดู หรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้

   
ที่มา http://designtechnology.ipst.ac.th